กิจกรรม

สักการะขอพรวัดบ้านช่างปี่

ประวัติความเป็นมาของบ้านช่างปี บ้านช่างปีในอดีตเคยเป็นชุมชนเขมรโบราณ เท่าทีพบโบราณสถานสำคัญในหมู่บ้าน คือ ปราสาทช่างปี ซึ่งในภาษาเขมร เรียกว่า ปราสาทเจียงแย เป็นสถาปัตยกรรมแบบขอมโบราณ สันนิษฐานว่าก่อสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวต้นพทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ก่อสร้างรุ่นเดียวกับปราสาทศัขรภูมิ และปราสาทพิมาย ปราสาทช่างปี เป็นอโรดยาศาล ประกอบด้วย องค์ปรางประธานสีเหลียมจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย ทีมุมทิศตะว้นออกเฉียงใต้มีอาคารขนาดเล็กรูปสีเหลียมผืนผ้าที่เกรียกว่าบรรณาสัย มีกำแพงล้อมรอบ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำขนาดเล็กกรุด้วยศิลาแลง คำว่า อโรคยาศาล หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นที่รักษาพยาบาล รักษาตัวของคนเจ็บป่วย โดยมีการสร้างอาคารไม่ไว้ด้านนอกองค์ปราสาท ส่วนการรักษาจะมีการส่งผู้มีวิชาการแพทย์แผ่นโบราณและตัวยามาจากเมืองใหญ่ๆ เช่น นครวัด ในประเทศก้มพูชา เมืองพิมาย และเมืองละโว้ ภายในองค์ปราสาทจะมีที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์ ไว้บวงสรวง เคารพบูชา ซึ่งเชื่อว่า การรักษาผู้ป่วยนั้นแม่เพียงได้สัมผัสรูปประติมากรรมของพระองค์ก็จะทำให้หายได้ ปราสาทชาง(เจี้ยงแข็ย) ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานเบกษา เล่มที่ 52  วันที่ 8 มีนาคม 2478

ราคา: 0 บาท

ตำบล , อำเภอ , จังหวัด

Image placeholder

ชุมชนบ้านช่างปี่

บ้านช่างปี่ หมู่ที่ 1 ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เดิมมีคนที่ชื่อ ปี่ เรียกกันว่าตาปี่ เป็นคนปั้นหม้อไหของหมู่บ้านที่มีฝีมือมากในการปั้น จึงเรียกต่อๆกันมาว่า บ้านตาปี่ ภายหลังจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อของช่างปั้นว่า บ้านช่างปี่ มีผู้ใหญ่/กำนันมาแล้วประมาณ 14 คน ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันชื่อ นายชัยณรงค์ ทองหล่อ

บ้านช่างปี่เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม ทำนาแปลงใหญ่ตามรูปแบบของการผลิตข้าวอินทรีย์ มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรม รวมถึงกิจกรรมการปั้นหม้อด้วยเตาเผาโบราณ ตามความเชื่อของชาวบ้านเกี่ยวกับการขุดพบเตาเผาโบราณบริเวณชุมชน รวมถึงเครื่องปั้นโบราณ รูปปั้นเทวรูป สิ่งศักดิ์สิทธ์จำนวนมาก ณ บริเวณปราสาทช่างปี่